(ใหม่)
2. ตัวแปลภาษา
การพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้เพื่อสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา ซึ่งได้แก่ ภาษา Basic , Pascal , C และภาษาโลโก้ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ทึ่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกได้แก่ Fortran Cobolและภาษา อาร์ฟีจี
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ Application Software
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนอ การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ หรือการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น
ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์ แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น 2 ประเภท
1. ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ Proprietary Software
2.ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป Packaged Software มีทั้งโปรแกรมเฉพาะCustomized Package และ โปรแกรมมาตรฐาน Standard Package
แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกได้ 3 กลุ่มใหญ่ๆ
1. กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ Business
2. กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิก และ มัลติมีเดีย Graphic and Multimedia
3 กลุ่มใช้งานบนเว็บ Web and Communications
1.กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ Business
ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังในการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดพิมพ์ รายงานเอกสาร นำเสนอผลงานและการบันทึกนัดหมายต่างๆ ตัวอย่างเช่น- โปรแกรมประมวลคำ อาทิ Microsoft Word Sun Star office Writer
- โปรแกรมตารางคำนวณ อาทิ Microsoft Excel , Sun Star office Cale
-โปรแกรมนำเสนอผลงาน อาทิ Microsoft Power Point Sun Star office Impress
2. กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิก และ มัลติมีเดีย Graphic and Multimedia
ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟิกและมัลติมีเดียเพื่อให้อ่านง่ายขึ้น เช่น ใช้ตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อ ภาพเคลื่อนไหวและการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น
-โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft Visio Professional
-โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ CorelDraw , Adobe Photoshop
-โปรแกรมตัดต่อวิดีโอและเสียง อาทิ Adobe premiere , Pinnacle Studio DV
-โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Author ware , Tool book Instructor , Adobe Director
-โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flash , Adobe Dreamweaver
3.กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
เมื่อเกิดการเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซอฟต์แวร์กกลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานเฉพาะเพิ่มมากขึ้น เช่น โปรแกรมการตรวจเช็ดอีเมล์ การท่องเว็บไซค์ การจัดการดูแลเว็บ การจัดการดูแลเว็บ ตัวอย่างโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่
-โปรแกรมจัดการอีเมล์ อาทิ Microsoft outlook , Mozzila Thunderbird
- โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft Internet Explorer , Mozzila Firefox
-โปรแกรมประชุมทางไกล Video conference อาทิ Microsoft Net meeting
-โปรแกรมส่งข้อความด่วน Instant Messaging อาทิ MSN Messenger / Window Messenger , ICQ
-โปรแกรมสนทนาบนอินเตอร์เน็ต อาทิ PIRCH , MIRCH
ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
การใช้ภาษาคล่องนี้แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษรเป็นประโยคข้อความภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่าภาษา คอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยูมากมายบางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้ส่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร
ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบที่บอกสิ่ง ที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เรียกว่าภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วยภาษาเครื่อง Machine Languages เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าใช้แมนตัวเลข 0 และ 1 ได้ผู้ออกแบบทางคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้ส่งงานคอมพิวเตอร์มากกว่าภาษาเครื่อง
ภาษาแอสเซมบลี Assembly Languages
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่องและภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์ ภาษาแอสเซมบลีก็ยังคงมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มากและจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษา
ภาษาระดับสูง High – Level Languages
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statement ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเรียนรู้และสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น
ภาษาระดับสูงมีอยู่ 2 ชนิด คือ
คอมไพเลอร์ Compiler และ อินเทอร์พรีเตอร์ Interpreter
- คอมไพเลอร์ จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อนแล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
- อินเทอร์พรีเตอร์ จะทำการแปลที่ละคำสั่งแล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป
*** ข้อแตกต่าง ระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่แปลโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- ระบบ Network และ Internet
- ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของเครือข่าย 3 ประเภท
1.ฮาร์ดแวร์ hardware
-คอมพิวเตอร์
-เซอร์เวอร์ Serwer
-ฮับ Hub
-บริดจ์
-เราท์เตอร์
-เกดเวย์
-โมเด็ม
-เน็ตเวอร์กการ์ด
2.ซอฟต์แวร์ Software
-โปรแกรมประยุกต์
-โปรแกรมปฎิบัติการ
3.ตัวนำข้อมูล Media
-สายโคแอกเซียล
-สายคู่บิดเกลียว หุ้มฉนวน STP
-สายคู่บิดเกลียว ไม่หุ้ม UTP
-ใยแก้วนำแสง Fiber Optic Cable
การทำงานของระบบ Network และ Internet
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.เครือข่ายเฉพาะที่ ( Local Area Network : LAN )
เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ กัน เช่น อยู่ภายในอาคาร หรือหน่วยงานเดียวกัน
2.เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network :MAN
เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงใหญ่ขึ้น ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกัน
3.เครือข่ายบริเวณกว้าง ( Wind Area Network :WAN )
เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และMAN มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมไปทั่วประเทศ หรือทั่วโลก เช่น อินเตอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
- การทำงานของระบบ Network และ Internet
- รูปแบบโครงสร้างของเครือข่ย ( Network Topology)
การจัดระบบการทำงานของเครือข่าย มีรูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย อันเป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์และการเดินสายสัญญารคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายรวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายด้วย โดยแบ่งโครงสร้างเครือข่ายหลักได้ 4 แบบ คือ
-เครือข่ายแบบดาว
-เครือข่ายแบบวงแหวน
-เครือข่ายแบบบัส
-เครือข่ายแบบต้นไม้
-แบบดาว เป็นการต่อสายเชื่อมโยงโดยการนำสถานีต่างๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์
เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาวหลายแฉก โดยมีสถานีกลาง หรือฮับ ป็นจุดผ่านทางการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด นอกจากนี้สถานีกลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบดาว จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆโหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน
-แบบวงแหวน เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญานของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน มีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขายาสัญญานตัวก่อนหน้าและส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญานตัวถัดไปเรื่อยๆ เป็นวง
-แบบบัส เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยจะมีอุปกรณืที่เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอรารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการอาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน ในการติดตั้งเครือข่ายแบบบัสนี้ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ล
อุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า “บัส” เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนดหนึ่งภายในเครือข่าย
-แบบต้นไม้ เป็นเครือข่ายที่มีการผสมผสานโครงสร้างของเครือข่ายแบบต่างๆเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานี การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆ ได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม รับส่งข้อมูลเดียวกัน
การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
-ระบบเครือข่ายทำให้เกิดการสื่อสาร
-รูปแบบการใช้งานของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงาน ได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง (Centrallized Networks)
2.ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
3.ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server
-แบบรวมศูนย์กลาง เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผล ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบๆ ใช้การเดินสายเคเบิ้ลเชื่อมต่อกันโดยตรง เพื่อให้เครื่องเทอร์มินอลสามารถเข้าใช้งาน โดยส่งคำสั่งต่างๆ มาประมวลผล
-แบบ Peer-to Peer แต่ละสถานีงานบนระบบเครือข่าย แบบ Peer-to Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่น การใช้เครื่องพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย เครื่องแต่ละสถานีงานมีขีดความสามรถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง คือจะต้องมีทรัพยากรภายในของตัวเอง เช่น ดิสก์สำหรับเก็บข้อมูล หน่วยความจำที่เพียงพอ และมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้
-แบบ Client/Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป้นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายสถานี ทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง และมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ จากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ เคื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบClient/Server ราคาไม่แพงมาก ซึ่งอาจใช้เพียงเครื่องไมโครคอมพิวเตอรืสมรรถนะสูงในการควบคุมการให้บริการทรัพยากรต่างๆ
นอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามารถในการประมวลผล และมีหน้าที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเอง
ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง สนับสนุนการทำงานแบบ Multiproocessor สามารถเพิ่มขยายขนาดของจำนวนผู้ใช้ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มจำนวนผู้ใช้ได้มาก ข้อเสียคือ ยุ่งยากในการติดตั้งมากกว่าระบบ Peer-to Peer