การเรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม
การเรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม
ภาษาไทยเรียงคำแบบประธาน กริยา กรรม เมื่อนำคำมาเรียงกันเป็นประโยค
ประโยคทั่ว ๆ ไปในภาษาจะมีลักษณะสามัญ จะมีการเรียงลำดับ ดังนี้ นาม กริยา นาม นามที่อยู่หน้ากริยา เป็นผู้ทำกริยา มักอยู่ต้นประโยค ทำหน้าที่เป็นประธาน ส่วนคำนามที่บอกผู้รับกริยา มักอยู่หลังคำกริยานั้นทำหน้าที่เป็นกรรม ด้วยเหตุนี้ประโยคสามัญในภาษาไทยจึงมักเรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม ด้วยเหตุนี้ประโยคสามัญในภาษาไทยจึงมักเรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม
นักภาษาศาสตร์จึงจัดให้ภาษาไทยอยู่ในประเภทภาษาที่เรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม
อย่างไรก็ดีมีประโยคในภาษาอยู่ไม่น้อยที่ดูเหมือนว่าจะเปลี่ยนลำดับคำได้โดยไม่เปลี่ยนความหมาย
ตัวอย่าง
๑. ก. เขาเป็นญาติกับตุ้ม ข. ตุ้มเป็นญาติกับเขา
๒. ก. แม่เอาน้ำใส่กระติก ข. แม่เอากระติกใส่น้ำ
๓. ก. ดินเปื้อนกระโปรง ข. กระโปรงเปื้อนดิน
๔. ก. แดงและดำไปโรงเรียน ข. ดำและแดงไปโรงเรียน
๕. ก. ติ่งเหมือนต้อย ข. ต้อยเหมือนติ่ง
ประโยค ก ในตัวอย่าง มีความหมายไม่ต่างกับ ประโยค ข ทั้ง ๆ ที่ลำดับคำต่างกัน
นอกจากนี้บางประโยคอาจเปลี่ยนลำดับคำได้หลากหลายโดยที่ความหมายยังคงเป็นเช่นเดิม
ตัวอย่าง
๑. เขาน่าจะได้พบกับคุณเจตนาที่บ้านคุณพ่ออย่างช้าพรุ่งนี้
๒. คุณเจตนาน่าจะได้พบเขาที่บ้านคุณพ่ออย่างช้าพรุ่งนี้
๓. พรุ่งนี้อย่างช้าคุณเจตนาน่าจะได้พบเขาที่บ้านคุณพ่อ
๔. อย่างช้าพรุ่งนี้เขาน่าจะได้พบกับคุณเจตนาที่บ้านคุณพ่อ
๕. ที่บ้านคุณพ่อพรุ่งนี้อย่างช้าเขาน่าจะได้พบกับคุณเจตนา
จะเห็นได้ว่าทุกประโยคสื่อความหมายอย่างเดียวกันไม่ว่าจะเป็นประโยค ใดก็บอกให้ทราบว่าผู้พบกัน คือ เขากับคุณเจตนา สถานที่พบ คือ บ้านคุณพ่อ และเวลาที่พบ คือ พรุ่งนี้อย่างช้า สิ่งที่ต่างกันออกไปบ้างในประโยคทั้ง ๕ ประโยค คือ การเน้นผู้รับสาร จะรู้สึกได้ว่าคำที่อยู่ต้นหรือท้ายประโยคเป็นคำที่ผู้ส่งสารให้ความสำคัญมากกว่าคำที่อยู่กลาง ๆ ประโยค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น